ประวัติวิทยาลัย

ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา

1. ประวัติการจัดตั้ง ที่ตั้ง เนื้อที่

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ห่างจากศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์หลังเก่าประมาณ 1 กิโลเมตร ติดกับวงเวียนอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ที่ตั้ง เลขที่ 67 หมู่ 1 ถนนสายบุรีรัมย์ – ประโคนชัย เทศบาลตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 350 ไร่ มีไร่ฝึกนักศึกษา 871 ไร่เศษ ตั้งอยู่ที่บ้านสามศิลา ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอคูเมือง ซึ่งอยู่ห่างจากวิทยาลัยประมาณ 40 กิโลเมตร และมีการดำเนินงานที่ผ่านมาดังนี้

พ.ศ. 2474 – 2480 -เปิดสอนระดับประถมวิสามัญเกษตรกรรม (ป.4-ป.5) โดยใช้เงินสะสมศึกษาพลีและเงินช่วยการประถมศึกษา
พ.ศ. 2481 -เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมบุรีรัมย์
พ.ศ. 2481 – 2493 -เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแผนกเกษตรกรรม
พ.ศ. 2494 – 2505 -เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแผนกเกษตรกรรม
พ.ศ. 2506 – 2523 -เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพแผนกเกษตรกรรม รับนักเรียนที่สำเร็จ ม.ศ. 3   หรือ ม. 6   เดิม หลักสูตร 3 ปี
พ.ศ. 2513 – 2518 -เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรการศึกษาแผนกฝึกหัดครูเกษตรกรรม    (ปกศ.เกษตร)
พ.ศ. 2519 -ได้รับการยกฐานะให้เป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมบุรีรัมย์
พ.ศ. 2519 -จัดตั้งไร่ฝึกนักศึกษาเพื่อเป็นแหล่งฝึกงานของนักเรียนนักศึกษา
พ.ศ. 2519 –   ปัจจุบัน -เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงแผนกเกษตรกรรม         (ปวส.เกษตร)
พ.ศ. 2520 – 2526 -เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกเกษตรกรรม โดยรับผู้ที่จบ ม.ศ. 5   หลักสูตร 1 ปี
พ.ศ. 2520 –   ปัจจุบัน -ดำเนินโครงการฝึกอาชีพเกษตรกรรมระยะสั้น
พ.ศ. 2522 –   ปัจจุบัน -ดำเนินโครงการฝึกอาชีพเกษตรกรรมเคลื่อนที่
พ.ศ. 2524 –   ปัจจุบัน -เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกเกษตรกรรม รับผู้สำเร็จ ม.3   หรือเทียบเท่าหลักสูตร 3 ปี
พ.ศ. 2525 -มูลนิธิวิทยาลัยเกษตรกรรมบุรีรัมย์ได้รับการจดทะเบียน เมื่อวันที่

15 กันยายน   พ.ศ. 2525

พ.ศ. 2527 –   ปัจจุบัน -เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)   และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ   (พิเศษ) (ปวช.พิเศษ) ตามโครงการอาชีวศึกษาพัฒนาชนบท
พ.ศ. 2528 –   2540 -เปิดดำเนินการศูนย์สาธิตและขยายพันธุ์ไม้ผลที่บริเวณท้ายเขื่อนลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ตามโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พ.ศ. 2529 -ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาเร่งรัดพัฒนาดีเด่นของกรมอาชีวศึกษา
พ.ศ. 2530 -ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่นของกรมอาชีวศึกษา
พ.ศ. 2537 –   2539 -ได้รับคำสั่งแต่งตั้งกระทรวงศึกษาธิการให้ทำหน้าที่วิทยาลัยชุมชนอีกบทบาทหนึ่งในชื่อ “วิทยาลัยชุมชนศรีบุรีรัมย์”
พ.ศ. 2537 –   ปัจจุบัน -เปิดสอนสาขาวิชานอกภาคเกษตรในระดับ ปวช. และปวส.
พ.ศ. 2539 -เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์
พ.ศ. 2540 -จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อชีวิตที่ศูนย์สาธิตและขยายพันธุ์ไม้ผล อำเภอโนนดินแดง ตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรมอาชีวศึกษา กับ บริษัทสยามแอดวานซ์เอ็ดยูเคชั่น 2000 จำกัด (SAE2000)
พ.ศ. 2541 –   ปัจจุบัน -เปิดสอนนักเรียนระดับ ปวช. สาขาวิชาเกษตรและเทคโนโลยี ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต
พ.ศ. 2543 -ได้รับการคัดเลือกรับรางวัลพระราชทานประเภทอุดมศึกษาต่ำกว่า

ปริญญาตรีทั้งสถานศึกษาและนักศึกษา

พ.ศ. 2546 -โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ ได้ผ่านการตรวจประเมินตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ตามข้อกำหนดของ Codex Alimentarus Recommended International Code of Parctice General Principles of Food Hygiene [CAC/RCP 1-1969,Rve.3 1997,Amended1999
พ.ศ. 2546 – โรงงานผลิตน้ำดื่มเพื่อการบริโภค วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ ได้ผ่านการตรวจประเมินตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2547 -ได้รับการตรวจประเมินจากสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
พ.ศ. 2548 – คะแนนรวมอันดับที่ 4 การแข่งขันทักษะ อกท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   ครั้งที่ 27 ณ.วษท. ยโสธร
พ.ศ. 2549 – ได้รับคัดเลือกรับรางวัลพระราชทาน สถานศึกษา ปีการศึกษา 2548

นายสำราญ กมล   ได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทาน ปีการศึกษา 2548

พ.ศ. 2550 -ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัดปีการศึกษา 2549
พ.ศ. 2551 – ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อการรับรองมาตรฐาน

การศึกษาด้านการอาชีวศึกษารอบที่สอง จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

พ.ศ. 2551 – ได้รับคัดเลือกรับรางวัลพระราชทาน สถานศึกษา ปีการศึกษา 2551

นายสำราญ กมล ได้รับรางวัลนักศึกษาพระราชทาน ปีการศึกษา 2551

พ.ศ. 2552 – ผ่านการตรวจประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด ปีการศึกษา 2551
พ.ศ. 2552 – ได้รับมอบโล่ (ทองคำ 99.99 %) จากกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากสถานศึกษาจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษาได้อย่างมีคุณภาพดีเยี่ยม ได้

รับรางวัลพระราชทาน 3   ครั้งภายใน 10 ปี   คือ ปีการศึกษา 2543, 2548, 2552

พ.ศ. 2553 -ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง 2553”
พ.ศ. 2554 -ชนะเลิศการประกวดหน่วยร่วมกรรมดีเด่นในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 33   วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่
พ.ศ. 2555 – ชนะเลิศกิจกรรมดีเด่นระดับภาค   ในงานประชุมวิชาการองค์การ       เกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย   ในพระชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อกท.) ครั้งที่ 34 ณ   วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ

– ชนะเลิศกิจกรรมดีเด่นระดับชาติ   ในงานประชุมวิชาการองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อกท.) ครั้งที่   34 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี

– ชนะเลิศการประกวดบ้านพักนักเรียน นักศึกษา   ตามโครงการ “ ตาม     โครงการหมู่บ้านปฏิรูปบ้านพักนักเรียนนักศึกษา” ระดับภาค

– ชนะเลิศการประกวดบ้านพักนักเรียน นักศึกษา   ตามโครงการ “ตาม

โครงการหมู่บ้านปฏิรูปบ้านพักนักเรียนนักศึกษา” ระดับชาติ

– ได้รับเลือกเป็นสมาชิกองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชาชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อกท.) ครั้งที่   34 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ

– ได้รับเลือกเป็นสมาชิกองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชาชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อกท.) ครั้งที่   34 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี

พ.ศ. 2555 -ผ่านการตรวจประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด ปีการศึกษา 2554
พ.ศ. 2556-ปัจจุบัน – ชนะเลิศอันดับที่ 2 การคัดเลือกสมาชิก   อกท. ดีเด่นระดับภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ครั้งที่ 35 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด

– ชนะเลิศอันดับที่ 3 หน่วย อกท. ดีเด่นระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ครั้งที่ 35   ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด

ชนะเลิศอันดับที่ 2 คะแนนการประกวด แสดง   และแข่งขันทักษะ

(อกท.) ครั้งที่ 35 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ วษท.ร้อยเอ็ด

-หน่วยร่วมกิจกรรมดีเด่น การประชุมวิชาการองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย (อกท.) ครั้งที่ 35 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด

ผ่านการตรวจประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ด้านการอาชีวศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

-นายสัมพันธ์   ขอบคุณรัมย์   ได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์

พ.ศ. 2557 -คะแนนรวมอันดับที่ 1 การประกวด แสดงและแข่งขัน ในงานประชุมวิชาการ อกท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 36 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร

-คะแนนรวมอันดับที่ 2 การประกวด แสดงและแข่งขัน ในงานประชุมวิชาการ อกท. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมป์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อกท.) ครั้งที่ 36 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก

-ชนะเลิศอันดับที่ 1 การแข่งขันทักษะวิชาชีพ สาขาช่างกลเกษตร   ในการประชุมวิชาการระดับชาติ องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมป์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อกท.) ครั้งที่ 36 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก

– นางสาวสุปราณี กุสะรัมย์   ได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ และทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน จากสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร)

– ชนะอันดับที่ 2 การประกวดนันทนาการ ในการประชุมวิชาการระดับชาติ องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมป์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อกท.) ครั้งที่ 36 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก

พ.ศ.2558 -ชนะเลิศคะแนนรวมทุกกิจ อันดับที่ 1 การประกวด แสดงและแข่งขัน ในงานประชุมวิชาการ อกท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 37 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม

-อับดับที่ 3 มาตรฐานเหรียญทอง ผลการคัดเลือกหน่วย อกท. ดีเด่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2558

– นายเจษฎา   ปิตตารัมย์ ได้รับคัดเลือกสมาชิก อกท. ดีเด่นระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2558

-ชนะเลิศคะแนนรวมทุกกิจกรรม อันดับที่ 1 การประกวด แสดงและแข่งขัน ในงานประชุมวิชาการ อกท. ระดับชาติ ครั้งที่ 37 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา